ข้อสอบกลางภาค





แบบทดสอบวัดผลกลางภาค
โรงเรียน............................  อำเภอ....................จังหวัด.................................
รายวิชา  ภาษาไทยพื้นฐาน  รหัสวิชา ท ๒๒๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เวลา ๑.๐๐ ชั่วโมง

คำชี้แจง
          ๑.  แบบทดสอบรายวิชา ภาษาไทยพื้นฐาน  รหัสวิชา ท ๒๒๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เวลา ๑.๐๐ ชั่วโมง
          ๒.  แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๑๕ คะแนน และอัตนัย จำนวน
               ๑ ข้อ ๕ คะแนน รวม ๒๐ คะแนน
          ๓.  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่เห็นว่าถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว  และกาเครื่องหมายกากบาททับอักษร ก ข ค
                หรือ ง ในกระดาษคำตอบ
          ๔.  ห้ามขีดเขียนเครื่องหมายใด ๆ ในข้อสอบ เมื่อทำเสร็จแล้วให้นำส่งครูผู้กำกับห้องสอบ
          ๕.  ตัวชี้วัดที่ออกข้อสอบ  ข้อที่ ๑,๒,๔,๕ จำนวน ๓๐ ข้อ  คะแนน ๑๕ คะแนน
                                          ข้อที่ ๑,๒,๖ จำนวน ๑   ข้อ  คะแนน ๕   คะแนน

ตัวชี้วัดที่ ๕  แสดงนิสัยรักการเขียน  โดยการจดบันทึกความรู้และเขียนสื่อสารด้วยลายมืออ่านง่าย เขียนอย่างมีมารยาทและเขียนแสดงทรรศนะ เขียนโน้มน้าวใจ เขียนสารคดีและบันเทิงคดี โดยใช้กระบวนการเขียนด้วยการพูดและเขียน
๑. เรื่อง พูดดี มีเสน่ห์ เป็นบทสนทนาระหว่างใครกับใคร
ก.       แจงกับแก้ว
ข.       แม่กับแจง
ค.       ยายกับหลาน
ง.        ยายกับแก้ว
๒. เรื่อง พูดดี มีเสน่ห์ ให้ข้อคิดเห็นเรื่องใด
       ก.   การใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารในสังคม
       ข.   การกล้าแสดงความคิดเห็นและมีเสน่ห์ในการพูด
       ค.   การมีมารยาท
       ง.   การพูดเป็นสิ่งสำคัญ
๓. เรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง ผู้เขียนได้นำคำว่า ลูกผู้ชายที่หมายถึงตัวละครใด
       ก.   หนุ่ม มาผูกเป็นเรื่อง คล้ายกับเรื่องสั้นโดยทั่วไป
       ข.   ดุจดาว มาผูกเป็นเรื่อง คล้ายกับเรื่องสั้นโดยทั่วไป
       ค.   ประภานนท์ มาผูกเป็นเรื่อง คล้ายกับเรื่องสั้น
             โดยทั่วไป

       ง.   ประภานนท์ มาผูกเป็นเรื่อง คล้ายกับนวนิยาย
             โดยทั่วไป

๔. เรื่องพูดดีมีเสน่ห์ตัวละครหลักชื่อว่าอะไร
       ก.  แก้ว              
       ข.  ดุจดาว
       ค.  ประภานนท์        
       ง.   แจง
๕. เรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง เขียนขึ้นโดยใคร
       ก.   ชมัยภร  แสงกระจ่าง
       ข.   ประภานนท์
       ค.   ดุจดาว
       ง.   เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
๖. เรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง
  คำว่า ลูกผู้ชาย หมายถึง
       ก.   ผู้ชายที่กตัญญูต่อบิดามารดา
       ข.   ผู้ชายที่ไม่เอาเปรียบผู้หญิง  และมีความซื่อสัตย์
       ค.   ผู้ชายที่ดูแลครอบครัว
       ง.    ผู้ชายที่มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์  ยุติธรรม
            เข้มแข็ง  เด็ดเดี่ยว  กล้าหาญ

๗. เรื่อง ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  ได้สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไว้ยกเว้นข้อใด
       ก.   การเคารพกฎระเบียบของโรงเรียนหรือของสังคม
       ข.   ความประพฤติที่เหมาะสมของหญิงชายที่เป็น
            สุภาพชน
       ค.   ความเข้มแข็งและไม่ยอมแพ้                      
       ง.   ศักดิ์ศรีของความเป็นลูกผู้ชาย





๘. เรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร โคลงประกอบภาพพระราชพงศาวดารที่ ๑๐ ใครแต่งบทร้อยกรองนี้
       ก.   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ข.   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  
       ค.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว                       
       ง.   พระยาอุปกิตศิลปสาร
๙. ข้อใดกล่าวผิดจากฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ
       ก.   โคลงสี่สุภาพบังคับเอก ๗  โท ๔
       ข.   โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๔ บาท  
       ค.   ตำแหน่งคำสร้อยจะเติมท้ายบทที่ ๑ และบทที่ ๒                      
       ง.   คำสร้อยมีทั้งหมด ๒ แห่ง
๑๐. เกิดเหตุการณ์อะไรกับสมเด็จพระสุริโยทัย
      ก.   ถูกอาวุธข้าศึกบาดเจ็บสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา
      ข.   ถูกอาวุธข้าศึกสิ้นพระชนม์ทันทีและชิงศพกลับมาได้
            ในภายหลัง
      ค.   ถูกอาวุธข้าศึกบาดเจ็บข้าศึกคุมพระองค์ไปเป็น
            ตัวประกันและสิ้นพระชนม์ในต่อมา
      ง.   ถูกอาวุธข้าศึกสิ้นพระชนม์ทันที และกันพระศพเอาไว้
๑๑. เรื่องพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิตเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นในรัชกาลใด
      ก.   สมเด็จพระเพทราชา                          
      ข.   สมเด็จพระบรมโกศ
      ค.   สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ               
      ง.    สมเด็จพระเสือ
๑๒. เรื่องพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิตนี้เกิดตอนพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปทำอะไร
      ก.   ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
      ข.   ยกทัพไปสู้รบพม่า
      ค.   หาปลา
      ง.   ดูแลทุกข์สุขของราษฎร์
๑๓. โคกขาม  ในเรื่องพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ในเรื่องนี้อยู่ที่ไหนในปัจจุบัน
     ก.   จังหวัดสมุทรปราการ  
     ข.   จังหวัดสมุทรสาคร
     ค.   จังหวัดฉะเชิงเทรา 
     ง.   จังหวัดสมุทรสงครา

๑๔. ข้อใดไม่ใช่หลักการย่อความ
       ก.   อ่านเรื่องที่จะย่ออย่างละเอียด เพื่อจะได้รู้ถึงเจตนา
             ของผู้เขียน
       ข.  หาประโยคใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้า แล้วนำ
            ประโยคเหล่านั้นมาเรียบเรียงใหม่เป็นภาษาร้อยแก้ว
            ที่น่าอ่าน โดยใช้สำนวนภาษาของตนเอง
       ค.  บอกที่มาของข้อความที่นำมาย่อ โดยเขียนนำไว้ใน
            ย่อหน้าแรก แล้วจึงเขียนเนื้อหาที่ย่อแล้วลงใน
            ย่อหน้าที่สอง
       ง.   ถ้ามีคำราชาศัพท์ให้เปลี่ยนคำราชาศัพท์นั้นเป็น
            คำสามัญที่ใช้สื่อสารทั่วไป
๑๕. ข้อใดกล่าวผิดในการเขียนแบบฟอร์มการเขียน
จดหมายลาครู
       ก.  มุมบนด้านซ้าย ให้เขียนที่อยู่ของผู้รับ
       ข.  เขียนวัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมาย ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
       ค.  คำขึ้นต้น เว้นระยะคั่นหน้ากระดาษ ๑.๕ นิ้ว
       ง.  คำลงท้าย และชื่อผู้ลา อยู่ตรงกับวันเดือนปีที่เขียน
๑๖. กฎหมายเกี่ยวกับคนถือท้ายเรือทำให้โขนเรือพระที่นั่งหัก
มีว่าอย่างไร
      ก.   ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะกับโขนเรือพระที่นั่ง
            บวงสรวงบนศาลเพียงตา
      ข.   ถูกประหารชีวิต
      ค.   ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะบวงสรวงบนศาล
            เพียงตา
      ง.   ถูกจำคุกตลอดซีวิตและริบทรัพย์            
๑๗. ใครคือผู้ที่พระอิศวรขอให้มาลงโทษนนทกที่กำลังมีใจกำเริบ ไม่ยับยั้งชั่งใจ ใช้อำนาจไม่ถูกต้อง
      ก.   พระนารายณ์
      ข.   พระราม
      ค.   หนุมาน
      ง.    พระอินทร์
๑๘. พระอิศวรประทานสิ่งใดให้แก่นนทก
      ก.   จักร
      ข.   สามง่าม
      ค.   นิ้วเพชรที่สามารถชี้สังหารใคร ๆ ก็ได้
      ง.    สังข์

                                                                


๑๙. นนทกหลงกลอุบายใดของใครจึงทำให้เกิดเหตุร้ายแก่ตนเอง
      ก.   เหล่าเทวดา หลอกให้วิ่งจนตกเขา
      ข.   พระนารายณ์ที่แปลงกายเป็นหญิง ร่ายรำท่าทางจน
            นทกพลาดชี้ขาตัวเองทำให้ขาหัก
      ค.   พระอิศวรหลอกให้ร่ายรำจนนนทกพลาดชี้ตา
            ตนเองบอด
      ง.    พระอินทร์หลอกให้นนทกวิ่งจนตกเขา
๒๐. เมื่อนนทกถูกฆ่าแล้วได้มาเกิดใหม่เป็นใคร
      ก.    พระราม
      ข.    ทศกัณฐ์
      ค.    หนุมาน
      ง.     พระลักษมณ์
๒๑. ข้อใดคือหลักสังเกตกลอนบทละครแตกต่างจากกลอนทั่วไปชัดเจนที่สุด
      ก.    จุดประสงค์การแต่ง
      ข.    จำนวนคำในวรรค
      ค.    คำขึ้นต้นบท
      ง.     เสียงพยัญชนะ
๒๒. รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกได้รับการยกย่องว่าเป็นตอนที่มีความงามยิ่งด้านใด
      ก.    คีตศิลป์
      ข.    นาฏศิลป์
      ค.    วรรณศิลป์
      ง.     ถูกทั้งข้อ ข และ ค
๒๓. ข้อใดใช้ภาษาได้เกิดภาพชัดเจนที่สุด
      ก.    จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ำแล้ว
             ร้องไห้
      ข.    ผู้ใดทำชอบต่อเบื้องบาท ก็ประสาททั้งพรแลยศศักดิ์
      ค.    อ้ายนี่ทำชอบมาช้านาน เราจึ่งประทานพรให้
      ง.     สิ้นทั้งไตรภพจบโลกา จะเอามาเปรียบไม่เทียบทัน
๒๔. ข้อใดแสดงถึงความงามของนารายณ์แปลงกายจนนนทกหลงใหล
      ก.   เมื่อนั้น พระนารายณ์ทรงสวัสดิ์รัศมี
      ข.   เมื่อนั้น นางนารายณ์เยาวลักษณ์เสน่หา
      ค.   ถึงโฉมองค์อัครลักษมี พระสุรัสวดีเสน่หา
      ง.    เป็นโฉมนางเทพอัปสร อ้อนแอ้นอรชรเฉลิมศรี

๒๕.-ข้อใดมีการใช้เหตุผล
         ก.   คนเรามักขาดเหตุผลเมื่อมีความต้องการ
         ข.   การไม่โลภ  คือลาภอันประเสริฐ
         ค.   ทุกสรรพสิ่งเกิดมาแล้วล้วนต้องตาย
         ง.    โอเว่นเป็นลูกครึ่งไทยฝรั่งเศสที่ชอบเรียนวิชา
               ภาษาไทยมากเพราะภาษาไทยช่วยให้เขาสามารถ
               สื่อสารกับเพื่อน ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒๖. ประโยคใดสามารถโน้มน้าวใจผู้ฟังได้มากที่สุด
         ก.   เด็ก ๑๓ คนที่ติดถ้ำหลวง ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะ
               ช่วยเหลือออกมาได้หากขาดความร่วมมือจากทุก
               ภาคส่วน
         ข.   เรือล่มที่ภูเก็ต เป็นอุบัติเหตุที่ไม่ควรเกิด
               หากไม่ได้รับความร่วมจากบางส่วนคงไม่สามารถ
               ค้นพบศพที่สูญหายพบง่าย ๆ
         ค.   น้ำท่วมที่ญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่แสนเศร้า
         ง.    เมืองไทยเมืองยิ้ม ผู้คนยิ้มไหว้ทักทายกันเสมอ
               พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และ
               เป็นเมืองท่องเที่ยวที่น่าประทับใจสุด ๆ
๒๗.      คุณแม่หนาหนักเพี้ยง     พสุธา
        คุณบิดรดุจอา
-                กาศกว้าง
        คุณพี่พ่างศิขรา                เมรุมาศ
        คุณพระอาจารย์อ้าง          อาจสู้สาคาร
              (โคลงโลกนิติ  พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
  กรมพระยาเดชาดิศร)


    คำประพันธ์ที่ยกมาใช้ภาพพจน์ในการเปรียบเทียบลักษณะเด่นโวหารใด
       ก.   อุปมาโวหาร
       ข.   อุปมานิทัศน์
       ค.   สาธกโวหาร
       ง.    อุปไมยโวหาร
๒๘. สารในการโน้มน้าวต่อไปนี้น่าเชื่อถือมากที่สุด
       ก.    วิศรุตชมผลงานการวาดภาพของนพรัตน์ว่าสวยงาม
              นับเป็นบุญตาที่ได้เห็น
       ข.    แพรวาเพียงแค่ล้างหน้าด้วยสบู่ลามิก็สวยแล้ว
       ค.   สุนันทวิชญ์เพียงแค่แรเงาภาพวาดเพียงเล็กน้อยก็
              ทำให้ภาพเขียนดูมีมิติและสวยงามมากขึ้นได้
        ง.    แป้งโก๊ะถ้าทำหน้าทำนมก็จะสวยแบบไร้ที่ติสุด ๆ





๒๙. ข้อใดไม่ใช่หลักการโน้มน้าวใจ
        ก.   แสดงให้เห็นความน่าเชื่อถือของผู้โน้มน้าวใจ
        ข.   แสดงด้วยเหตุผลที่หนักแน่น
        ค.
   ทำให้เกิดความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน
        ง.    แสดงให้เห็นความจริงใจ
๓๐. ข้อใดไม่ใช่หลักการใช้วิจารณญาณในการรับสารโน้มน้าวใจ
        ก.   พิจารณาและรู้เท่าทันผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ที่จะโน้ม
              น้าวใจหรือไม่อย่างไร
        ข.   การรับสารอย่างละเอียดซ้ำ ๆ
        ค.
   วิเคราะห์ว่าสารนั้นโน้มน้าวใจให้ทำหรือไม่ให้ทำสิ่งใด
              ให้เชื่อไม่ให้เชื่อเรื่องใด
        ง.    ใช้วิจารณญาณวิเคราะห์ว่าสารที่โน้มน้าวใจมีเหตุผล
              ที่สมควรเชื่อหรือคล้อยตามหรือไม่  เพราะเหตุใด







                                          ไม่มีสิ่งใดยากเกินความสามารถ หากเรามุ่งมั่น






 ******************************************************************************************************************************************



                                                       
     ตอนที่ ๒   แบบทดสอบแบบอัตนัยจำนวน ๑ ข้อ ๕ คะแนน
       คำชี้แจง 
                   ๑.) ให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากเรื่องต่อไปนี้ (๕ คะแนน)
   ๑.ข่าวเด่นถ้ำหลวง จากปฏิบัติการกู้ภัยสู่หนังฮอลลีวูด ชาวนาที่ยอมให้น้ำท่วมนาของตัวเอง ทีมเก็บรังนกที่โรยตัวลงไปในโพรงถ้ำ และอดีตหน่วยซีลที่เสียชีวิตในถ้ำหลวง เป็นตัวอย่างของเรื่องราวที่ผู้ผลิตภาพยนตร์สหรัฐฯ อยากจะสะท้อนให้ทั่วโลกเห็นนักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรจากเรื่องนี้
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
        ชื่อ นามสกุล  ................................................................................... เลขที่ ......................

.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................
                   ชื่อ นามสกุล  ................................................................................... เลขที่ ....................

ลงชื่อ............................................................ผู้สอน
(นางสาวจันทิมา  ชายกวด)

         

 







**********************************************************😎😃😎😏😏😎😘😘***********************************















เฉลยข้อสอบ



     
๑.
๑๑.
๒๑.
๒.
๑๒.
๒๒.
๓.
๑๓.
๒๓.
๔.
๑๔.
๒๔.
๕.
๑๕.
๒๕.
๖.
๑๖.
๒๖.
๗.
๑๗.
๒๗.
๘.
๑๘.
๒๘.
๙.
๑๙.
๒๙.
๑๐.
๒๐.
๓๐.



















***********************************************************************************************************************************************







































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำไทยแท้

ข้อสอบปลายภาคเทอม 1