คำไทยแท้


    ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการมายาวนาน มีการยืมภาษาอื่นมาผสมผสานปรับปรุงจนกลายเป็นรูปแบบภาษาของตนเอง ในการคำความเข้าใจภาษาไทยจึงไม่แปลกที่เราจะต้องมาดูลักษณะของคำไทยแท้ว่ามีลักษณะเช่นไร
    คำไทยแท้จะมีพยางค์เดียว สะกดง่ายๆ ตรงตามมาตรา เช่น หมาก ผอม กลม ตา สูง ดิน ปล้น พ่อ หู ขาว ปาก พี่ ลูก โง่ ดี น้อง น้ำ ไป แม่ ฯลฯ ถ้ามี ๒ พยางค์ก็มาจาก ๓ สาเหตุคือ กร่อนเสียง แทรกเสียงและเติมพยางค์
    กร่อนเสียง เช่น   ฉะนั้น   กร่อนมาจาก ฉันนั้น
                               ตะขบ   กร่อนมาจาก ต้นขบ
                               ตะเคียน กร่อนาจาก ต้นเคียน
                               มะพร้าว กร่อนมาจาก หมากพร้าว
                               มะม่วง  กร่อนมาจาก หมากม่วง
                               มะปราง กร่อนมาจาก หมากปราง
                               ตะปู    กร่อนมาจาก ตาปู
                               สะใภ้  กร่อนมาจาก สาวใภ้
                               ละอ่อน กร่อนมาจาก ลูกอ่อน
                               ตะเข็บ กร่อนมาจาก ตัวเข็บ
                               สะเอว กร่อนมาจาก สายเอว
   แทรกเสียง เช่น   ลูกกระดุม  มาจาก ลูกดุม
                              ลูกกระเดือก มาจาก ลุกเดือก
                              ผักกระถิน มาจาก ผักถิน
                              ผักกระเฉด มาจาก ผักเฉด
                              นกกระจอก มาจาก นกจอก
                              นกกระจิบ มาจาก นกจิบ
                              นกกระจาบ มาจาก นกจาบ
   เติมพยางค์ เช่น   โจน เป็น ประโจน
                               โดด เป็น กระโดด 
                               จุ๋มจิ๋ม เป็น กระจุ๋มกระจิ๋ม
                               ถด เป็น กระถด
                               ท้วง เป็น ประท้วง
                               หนึ่ง เป็น ประหนึ่ง
   คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ถ้าตัวสะกดไม่ตรงตามรูปมาตราไม่ใช่คำไทยแท้ ยกเว้น ดูกร กับ อรชร เพราะ มาจากคำว่า ดูก่อนและอ่อนช้อน
   แม่กก ใช้ ก สะกด เช่น ผัก รัก มาก ลาก จาก
   แม่กบ ใช้ บ สะกด เช่น ดับ คับ สูบ ทุบ ยุบ พบ
   แม่กด ใช้ ด สะกด เช่น มัด รัด ฟัด จุด สด ชด
   แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น วัง มุง ลุง ชั่ง นาง
   แม่กน ใช้ น สะกด เช่น เรียน ลาน ฝัน ปาน
   แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ผม ลม สม ปูม เข้ม งม
   แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น หาย ควาย สาย นาย สวย
   แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น ผิว ดาว แมว ข้าว เหว 
   คำไทยแท้ไม่มีการันต์ ยกเว้น ๓ คำนี้ แม้มีตัวการันต์ก็เป็นคำไทยแท้คือ ผีว์ ม่าห์ เยียร์
   คำไทยแท้มักปรากฎรูปวรรณยุกต์ เพราะวรรณยุกต์เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย ภาษาอื่นๆ ไม่มี เช่น
               พอ  พ่อ  พ้อ 
               แม่   แม้
              ปา   ป่า  ป้า


ลักษณะคำที่มาจากภาษาไทยแท้
                คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย  มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร และมีหลักในการสังเกตที่ตายตัวทำให้เราสามารถแยกแยะวิเคราะห์ได้ว่าคำไทยแท้นั้นมีลักษณะอย่างไร 
มีหลักการสังเกตดังนี้
๑. คำไทยแท้มีพยางค์เดียว
คำไทยแท้มักคำพยางค์มีพยางค์เดียว  และมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง  เมื่อฟังแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที   เช่น
               คำใช้เรียกเครือญาติ    พ่อ    แม่   พี่   น้อง   ป้า   อา   ลุง   ฯลฯ
คำใช้เรียกชื่อสัตว์       ช้าง   ม้า    วัว    ควาย   หมู  กา   ไก่   นก   ฯลฯ
คำใช้เรียกธรรมชาติ    ดิน   น้ำ   ลม   ไฟ   อุ่น   เย็น   ร้อน   ฯลฯ
คำใช้เรียกเครื่องใช้     มีด    ตู้   ครก   ไห   ช้อน  ฯลฯ                       
ทั้งนี้   มีคำไทยแท้บางคำที่มีหลายพยางค์
มีสาเหตุ  ดังนี้
๑ )  การกร่อนเสียง   คือ  การที่คำเดิมเป็นคำประสม ๒ พยางค์เรียงกันเมื่อพูดเร็ว ๆ ทำให้
พยางค์แรก  มีการกร่อนเสียงลงไป   เช่น  หมาก   เป็น   มะ   ตัว   เป็น ตะ   เป็นต้น
ทำให้กลายเป็นคำ  ๒  พยางค์  เช่น
                              หมากขาม          เป็น    มะขาม                ตัวขาบ       เป็น     ตะขาบ
หมากม่วง          เป็น    มะม่วง                 ตาวัน         เป็น     ตะวัน
สาวใภ้               เป็น    สะใภ้                    อันไร         เป็น      อะไร
ฉันนั้น               เป็น    ฉะนั้น
๒ ) การแทรกเสียง  คือ  การเติมพยางค์ลงไประหว่างคำ   ๒ พยางค์  ทำให้เกิดเป็นคำ
หลายพยางค์  เช่น
ลูกตา    เป็น    ลูกกะตา                  ลูกท้อน    เป็น     ลูกกระท้อน
นกจอก   เป็น    นกกระจอก            นกจิบ       เป็น     นกกระจิบ
ผักถิน     เป็น    ผักกระถิน             ผักเฉด      เป็น     ผักกระเฉด
                ๓ ) การเติมพยางค์หน้า  คือ การเติมพยางค์ลงไปหน้าคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์
แล้วทำให้เกิดเป็นคำหลายพยางค์  เช่น
โจน              เป็น     กระโจน                        ทำ            เป็น    กระทำ
เดี๋ยว            เป็น     ประเดี๋ยว                      ท้วง          เป็น     ประท้วง
จุ๋มจิ๋ม           เป็น      กระจุ๋มกระจิ๋ม            ดุกดิก       เป็น    กระดุกกระดิก

๒. คำไทยแท้มักมีตัวสะกดตรงตามมาตรา 
กล่าวคือ  อักษรที่นำมาเขียนเป็นตัวสะกดจะตรงตามกับมาตราตัวสะกด
๑ ) แม่กก ใช้  ก  เป็นตัวสะกด  เช่น
รัก     ฉาก     จิก     ปีก     จุก   ลูก     โบก    ตัก    เด็ก     เปียก  ฯลฯ
๒ ) แม่กด ใช้  ด  เป็นตัวสะกด  เช่น
คด     จุด     เช็ด   แปด     อวด     เบียด     ปูด     เลือด     กวด     ราด  ฯลฯ
๓ ) แม่กบ ใช้  บ  เป็นตัวสะกด  เช่น
จับ     ชอบ     ซูบ     ดาบ     เล็บ     โอบ     เสียบ     เกือบ     ลบ    สิบ ฯลฯ
๔ ) แม่กง  ใช้  ง  เป็นตัวสะกด  เช่น
ขัง    วาง     ปิ้ง     ซึ่ง     งง     โยง     เล็ง     กรง     ถุง     ดอง   ฯลฯ
๕ ) แม่กน  ใช้  น  เป็นตัวสะกด  เช่น
คัน     ขึ้น     ฉุน     แบน     ล้วน     จาน     เส้น     โล้น     กิน   ฯลฯ
๖ ) แม่กม  ใช้  ม  เป็นตัวสะกด  เช่น
จาม     อิ่ม     ซ้อม     เต็ม     ท้วม     ตุ่น     เสียม      แก้ม     สาม    ล้ม  ฯลฯ
๗ ) แม่เกย  ใช้  ย  เป็นตัวสะกด  เช่น
ชาย     ขาย    เคย     โกย     คุ้ย     คอย     เย้ย     รวย     เมื่อย     สาย    ตาย  ฯลฯ
๘ ) แม่เกอว  ใช้  ว  เป็นตัวสะกด  เช่น
ข้าว     คิ้ว     เหว     แก้ว     เลี้ยว     เปลว     เร็ว    หนาว     นิ้ว     สาว  ฯลฯ
๓. คำไทยแท้      จะไม่พบพยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ณ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ
มีคำยกเว้นบางคำ  เช่น  ฆ่า  เฆี่ยน  ระฆัง  ศอก  ศึก  ธ  เธอ  ณ  ฯพณฯ  ใหญ่  หญ้า
๔. คำไทยแท้มักมีรูปวรรณยุกต์กำกับ
                เพื่อให้เกิดเสียงต่างกัน ทำให้คำมีความหมายมากขึ้นด้วย  ซึ่งทำให้มีคำใช้มากขึ้น เช่น
ปา     >   ขว้าง                                        ขาว   >   ชื่อสีชนิดหนึ่ง
ป่า     >   ที่รกด้วยต้นไม้ต่างๆ               ข่าว   >   คำบอกเล่า  เรื่องราว
ป้า    >   พี่สาวของพ่อหรือของแม่      ข้าว   >   อาหารประเภทหนึ่ง
ฝาย   >   สิ่งก่อสร้างคล้ายเขื่อน           เสือ   >    สัตว์ชนิดหนึ่ง
ฝ่าย   >   ข้าง                                          เสื่อ   >     ของใช้สำหรับปูนั่ง
ฝ้าย    >  ผ้าฝ่าย                                    เสื้อ   >      ของใช้สำหรับสวมใส่
ขา      >   อวัยวะ                                      คา    >      หญ้าคา
ข่า      >   สมุนไพร                                  ค่า    >      คุณค่า
ข้า      >   สรรพนาม                                ค้า    >      การค้า
๕. คำไทยแท้มีลักษณนามใช้
  ลักษณนามเป็นนามที่บอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า  ซึ่งในภาษาไทยจะใช้คำเหล่านี้แตกต่างจากภาษาอื่นชัดเจน  ดังนี้
๕.๑ ลักษณนามบอกชนิด   เช่น
รูป           ใช้ กับ    ภิกษุ  สามเณร
เล่ม        ใช้กับ     หนังสือ  เกวียน  เทียน  เข็ม  ตะไกร
ใบ          ใช้กับ      ตู้  หม้อ  ตุ่ม  หมอน
๕.๒ ลักษณนามบอกหมวดหมู่   เช่น
ฝูง          ใช้กับ     วัว  ควาย  ปลา  นก
กอง        ใช้กับ     ทหาร  ลูกเสือ  อิฐ  ทราย  ผ้าป่า
นิกาย     ใช้กับ      ศาสนา  ลัทธิ
๕.๓ ลักษณนามบอกสัณฐาน   เช่น
วง          ใช้กับ     แหวน   วงกลม  ตะกร้อ  สักวา   วงดนตรี   แตรวง
หลัง       ใช้กับ     เรือน  มุ้ง  ตึก
แผ่น       ใช้กับ     กระดาษ  กระดาน  กระเบื้อง  สังกะสี
บาน       ใช้กับ     ประตู   หน้าต่าง  กระจกเงา  กรอบรูป
๕.๔  ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา   เช่น
คู่            ใช้กับ     รองเท้า  ถุงเท้า  ช้อนส้อม
โหล       ใช้กับ     ของที่รวมกันจำนวน  ๑๒ ชิ้น  เช่น  สมุด  ดินสอ
๕.๕  ลักษณนามบอกอาการ   เช่น
จีบ          ใช้กับ   พลู
จับ          ใช้กับ     ขนมจีน
มวน      ใช้กับ   บุหรี่
๕.๖  ลักษณนามซ้ำชื่อ    เช่น  เมือง   ประเทศ    ตำบล   จังหวัด   ทวีป   ฯลฯ
๖. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้ตัวการันต์
ลักษณะของตัวการันต์ มักเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ  เพราะในภาษาไทยจะไม่นิยมใช้ตัวการันต์   เช่น  โล่      เสา     อิน     จัน    วัน    เท่    กา     ขาด     ปา     จัก  รัน
๗. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัวที่เขียนยาก
เช่น   ฆ  ณ  ญ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ   ฌ  ธ   ภ   ศ    ษ   ฬ     และสระ  ฤ   ฤา      ยกเว้นคำไทยแท้บางคำ   ดังนี้  เฆี่ยน     ฆ่า      ฆ้อง     ระฆัง    หญิง    ศึก    ใหญ่     ณ    ธ     เธอ    ศอก     อำเภอ
 ๘. การใช้  ใอ  และไอ  ในภาษาไทย
              คำที่ออกเสียง  อัย   ใช้รูปไม้ม้วน  ( ใ ) มีใช้ในคำไทยเพียง  ๒๐  คำเท่านั้น    นอกนั้นใช้ประสมด้วยสระ “ ไอ ” ไม้มลายทั้งสิ้น แต่จะไม่ใช้รูป “ อัย ” หรือ “ ไอย ”  เลย  คำไทยแท้ที่ใช้      “ ใอ ” ไม้ม้วน ๒๐ คำ มีบทท่องจำง่าย ๆ ดังนี้

         “ ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่                        ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ                                  มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ                                 ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้                                     มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว                                   หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง                        ยี่สิบม้วนจำจงดี ”
สำหรับคำที่ใช้ อัย กับ ไอย นั้นรับมาจากภาษาบาลีสันสกฤต



..........................................................................................................................................................






↼⇄↰😈😉😊😓😆😌😋😀😀😀💖💖💖💖👌



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อสอบกลางภาค

ข้อสอบปลายภาคเทอม 1