ใบความรู้ และใบงานเกี่ยวกับโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
ใบความรู้
เรื่อง โคลงสี่สุภาพ
เรื่อง โคลงสี่สุภาพ
โคลงมีหลายชนิด
แต่ที่นิยมเป็นหลัก คือ โคลงสี่สุภาพ
๑ รูปแบบของโคลงสี่สุภาพ
๑ รูปแบบของโคลงสี่สุภาพ
ลักษณะคำประพันธ์
โคลงพระราชพงศาวดารแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ
พันท้ายตกประหม่าสิ้น สติคิด
โดดจากเรือทูลอุทิศ โทษร้อง
พันท้ายนรสิงห์ผิด บทฆ่า เสียเทอญ
หัวกับโขนเรือต้อง คู่เส้นทำศาล
โดดจากเรือทูลอุทิศ โทษร้อง
พันท้ายนรสิงห์ผิด บทฆ่า เสียเทอญ
หัวกับโขนเรือต้อง คู่เส้นทำศาล
ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ
ควรจำโคลงสี่นี้
พึงยล ท่านเอย
บทหนึ่งจัดพรรคพล
สี่พร้อม
เจ็ดเอกสี่โทดล
เสียงเด่น เสนาะนอ
คำรื่นสัมผัสน้อม
แน่วให้ชวนฝัน
โคลงสี่สุภาพจากลิลิตพระลอที่เรามักจดจำแบบอย่าง
คือ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร
ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล
ลืมตื่นฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า
อย่าได้ถามเผือ
๒. กฎเกณฑ์บังคับของโคลงสี่สุภาพ
๑.) โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๔ บาท หรือ ๔ บรรทัด แต่ละบาทมี ๒ วรรค
วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังของบาทที่ ๑-๓ มีวรรคละ ๒ คำ แต่บาทที่ ๑ และบาทที่ ๓
เพิ่มคำสร้อยวรรคละ ๒ คำ ส่วนบาทที่ ๔ วรรคหลังมี ๔ คำ สรุปโคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี
๓๐ คำ และมีคำสร้อยอีก ๔ คำ
๒.) สัมผัสบังคับเป็นสัมผัสสระ ดูรูปแบบที่โยงไว้ ชุดแรกคือ คำที่ ๗,๑๒,๑๙ ชุดที่สองคือ คำที่ ๑๔ กับ ๒๖
๓.) กำหนดคำเอก ๗ ตำแหน่ง และคำโท ๔ ตำแหน่ง
ตำแหน่งคำเอกและคำโทในบาทที่ ๑ ตรงกับคำที่ ๔-๕ สลับที่กันได้
คำเอก คือ
คำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับ หรือใช้คำตายแทนคำเอก
คำโท คือ
คำที่มีวรรณยุกต์โทกำกับ
๔.) คำสร้อย เติมท้ายบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓
เพื่อให้ได้ความครบถ้าได้ความครบแล้วไม่จำเป็นต้องใช้คำสร้อย คำสร้อยของโคลงมี ๒
คำ คำต้นมีหน้าที่เชื่อมความต่อกับคำข้างหน้า ส่วนคำท้ายเป็นคำเสริมขึ้นให้เต็มหรือเพื่อความไพเราะและชัดเจนขึ้น
ตัวอย่าง คำสร้อยหรือคำท้าย เช่น เอย เฮย แฮ นอ เทอญ พ่อ แม่ พี่ เป็นต้น
๕.) คำเอกโทษและโทโทษ คือ ใช้คำเอกและโทในตำแหน่งที่ผิด เช่น หน้า
เขียนเป็น น่า อย่างนี้เรียกว่า เอกโทษ หรือ เล่น เขียนเป็น เหล้น อย่างนี้เรียกว่าโทโทษ
ปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ เพราะใช้คำไม่ตรงความหมาย และขาดความพิถีพิถัน
๖.) คำที่ ๗,๑๒,๑๙,๓๐ ไม่นิยมใช้รูปวรรณยุกต์
********************************************************************************************
ใบงาน
เรื่อง พระสุริโยทัยขาดคอช้าง
เรื่อง พระสุริโยทัยขาดคอช้าง
คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมข้อความที่ถูกต้องลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
๑.ผู้แต่งเรื่องนี้คือใคร
……………………………………………………………………
๒.เรื่องพระสุริโยทัยขาดคอช้างเกิดขึ้นในสมัยใด
……………………………………………………………………
๓.เรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
………………………………………………………………………
๔.บทร้อยกรองเรื่องนี้คัดมาจากที่ใด
………………………………………………………………………
๕.เรื่องพระสุริโยทัยขาดคอช้างเป็นการทำสงครามระหว่างใครกับใคร
……………………………………………………………………
๖.ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
พระสุริโยทัย (ตอบ ๓ ข้อ)
…………………………………………………………………
…………………………………………………………………
....................................................................................................
*************************************************************
แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
เรื่อง พระสุริโยทัยขาดคอช้าง
เรื่อง พระสุริโยทัยขาดคอช้าง
คำสั่ง ให้นักเรียนวงกลมคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
๑.ใครแต่งบทร้อยกรองนี้
ก.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ค.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ง.พระยาอุปกิตศิลปสาร
ก.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ค.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ง.พระยาอุปกิตศิลปสาร
๒.เหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นในรัชกาลใด
ก.สมเด็จพระชัยราชาธิราช ข.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ค.สมเด็จพระมหินทร์ ง.สมเด็จพระมหาธรรมราชา
ก.สมเด็จพระชัยราชาธิราช ข.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ค.สมเด็จพระมหินทร์ ง.สมเด็จพระมหาธรรมราชา
๓.ใครเป็นจอมทัพข้าศึกตามบทร้อยกรองนี้
ก.พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ข.พระเจ้าบุเรงนอง
ค.พระเจ้าแปร ง.พระเจ้านันทบุเรง
ก.พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ข.พระเจ้าบุเรงนอง
ค.พระเจ้าแปร ง.พระเจ้านันทบุเรง
๔.เรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
ก.กาพย์ยานี ข.กลอนเสภา
ค.กลอนสุภาพ ง.โคลงสี่สุภาพ
ก.กาพย์ยานี ข.กลอนเสภา
ค.กลอนสุภาพ ง.โคลงสี่สุภาพ
๕.เรื่องนี้ใช้โวหารชนิดใดเด่นชัดที่สุด
ก.พรรณา ข.บรรยาย
ค.อุปมาหรือเปรียบเทียบ ง.เทศนา
ก.พรรณา ข.บรรยาย
ค.อุปมาหรือเปรียบเทียบ ง.เทศนา
๖.เกิดเหตุการณ์อะไรกับสมเด็จพระสุริโยทัย
ก.ถูกอาวุธข้าศึกบาดเจ็บสิ้นพระชนม์ในต่อมา
ข.ถูกอาวุธข้าศึกสิ้นพระชนม์ทันทีและชิงศพกลับมาได้ภายหลัง
ค.ถูกอาวุธข้าศึกบาดเจ็บข้าศึกกุมพระองค์ไปเป็นตัวประกันและสิ้นพระชนม์ในต่อมา
ง.ถูกอาวุธข้าศึกสิ้นพระชนม์ทันที และกันพระศพเอาไว้
ก.ถูกอาวุธข้าศึกบาดเจ็บสิ้นพระชนม์ในต่อมา
ข.ถูกอาวุธข้าศึกสิ้นพระชนม์ทันทีและชิงศพกลับมาได้ภายหลัง
ค.ถูกอาวุธข้าศึกบาดเจ็บข้าศึกกุมพระองค์ไปเป็นตัวประกันและสิ้นพระชนม์ในต่อมา
ง.ถูกอาวุธข้าศึกสิ้นพระชนม์ทันที และกันพระศพเอาไว้
********************************************************************************************
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต
ผู้แต่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ที่มาของเรื่อง คัดจากหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุดมุงหมายในการแต่ง เพื่อสดุดีวีรกรรมของพันท้ายนรสิงห์ที่ยอมเสียสละชีวิตของตนเองเพื่อรักษาพระราชกำหนดที่มี มาทุกสมัยมิใช่เสื่อมเสีย และสูญหายไป เพราะตนเพียงคนเดียว ลักษณะคำประพันธ์ โครงสี่สุภาพ
เนื้อเรื่องย่อ
เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือประพาสปากน้ำ ได้ประทับเรื่อเอกชัยเข้ามาถึงตำบลโคกขามลำคลองลักษณะ
คดเคี้ยวนายท้ายเรือด้วยความลำบาก ทำให้โขนเรือหัก พันท้ายนรสิงห์จึงรับผิดชอบขอให้พระเจ้าประหารชีวิตตน เพื่อเอาโขนเรือและศีรษะมาเซ่นสรวงทำศาลตามประเพณี สมเด็จพระเจ้าเสือพระราชทานโทษให้ แต่ทรงโปรด ให้ปั้นรูปพันท้ายนรสิงห์ขึ้นมาฟันคอรูปแทน พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอม กราบทูลรบเร้าให้พระเจ้าเสือประหารชีวิต ตนให้ได้ พระเจ้าเสือก้อต้องจำพระทัยสังเพชฌฆาตประหารชีวิต พันท้าย นรสิงห์ แล้วให้นำศีรษะของพันท้าย นรสิงห์กับโขนเรือเซ่นไว้ที่ศาล เพื่อเป็นที่เตือนใจคนทั่วไป
ข้อคิดที่ได้รับการเรื่อง
๑. มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ๒.รู้จักเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องพระราชกำหนดให้คงอยู่ตลอดไป ๓.ปลูกจิตสำนึกให้เยาว์ชนไทยเห็นคุณค่าเสียสละของวีระชนไทย
***************************************************************************************
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
เรื่อง
พระสุริโยทัยขาดคอช้าง
ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่มาของเรื่อง คัดมาจากหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดารเป็นโคลงบรรยายภาพที่ 10 แผ่นดินสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิและโคลงบรรยายภาพที่ 56 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระสุริโยทัยที่มีความรัก และความเสียสละพระชนม์ชีพ ช่วยปกป้องพระสวามี จากข้าศึกให้รอดพระชนม์ชีพ ลักษณะคำประพันธ์ โคลงสี่สุภาพ
เนื้อเรื่องย่อ
พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกกองทัพประชิดติดเมือง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงยกพลออก ไปออกสู้รบสมเด็จพระสุริโยทัยพระมเหสีทรงเครื่องพิชัยสงคราม ทรงช้าง โดยเสด็จด้วย เมื่อช้างพระที่นั่ง ของพระมหาจักรพรรดิไปประจันหน้าและชนกับช้างทรงของพระเจ้าแปรทัพหน้า ช้างของพระมหาจักรพรรดิเสียทีกลับหลังวิ่งเตลิด พระเจ้าแปรก็ขับช้างตาม พระสุริโยทัยทรงไสช้างเข้าขัดขวาง พระเจ้าแปรจึงใช้พระแสงของ้าว ฟันพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้างนั่นเอง
ข้อคิดที่จากเรื่อง
๑.ต้องมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ๒.รู้จักเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องประเทศชาติจากข้าศึกศัตรู เพื่อให้ได้มาเพื่อความเป็นไทยตลอดไป ๓.ปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนไทยเห็นคุณค่าของความเสียสละของวีรชนไทย
**************************************************************
เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต
คำสั่ง จงเติมข้อความที่ถูกต้องลงในช่องว่าง
๑.ใครเป็นผู้แต่งโคลงภาพเรื่องพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต.................................................................................
๒.จุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องนี้คือ.....................................................................................
๓.ทำไมพันท้ายนรสิงห์จึงไม่ยอมให้มีการลดโทษ.....................................................................................
๔.เรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด.........................................................................................
๕.หลังจากที่หัวเรือหักพันท้ายนรสิงห์ทำอย่างไร..................................................................................
๖.เรือที่ใช้ในการเสด็จประพาสชื่อเรืออะไร..............................................................................
๗.ถานที่ใดเป็นที่เกิดเหตุ..............................................
๘.โขนเรือหักขณะแล่นอยู่ในคลองชื่ออะไร................................................................................
********************************************************************************************************************************
แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต
คำชี้แจง ให้นักเรียนวงกลมหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
๑.เรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
ก.กาพย์ยานี ข.กลอนเสภา ค.กลอนสุภาพ ง.โคลงสี่สุภาพ
๒.พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปที่ไหน
ก.ปากน้ำเจ้าพระยา ข.ปากน้ำท่าจีน ค.ปากน้ำแม่กลอง ง.ปากน้ำบางปะกง
๓.โคกขาม
ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ในเรื่องนี้อยู่ที่ไหนในปัจจุบัน
ก.จังหวัดสมุทรปราการ ข.จังหวัดสมุทรสาคร
ค.จังหวัดสมุทรปราการ ง.จงหวัดฉะเชิงเทรา
๔.กฎหมายเกี่ยวกับคนถือท้ายเรือทำให้โขนเรือพระที่นั่งหักมีว่าอย่างไร
ก.ถูกจำคุกตลอดซีวิตและริบทรัพย์ ข.ถูกประหารชีวิต ค.ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะบวงสรวงบนศาลเพียงตา ง.ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะกับโขนเรือพระที่นั่งบวงสรวงบนศาลเพียงตา
๕.เหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นในรัชกาลใด
ก.สมเด็จพระเพทราชา ข.สมเด็จพระเสือ ค.สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ง.สมเด็จพระบรมโกศ
๖.เรื่องนี้เกิดตอนพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปทำอะไร
ก.ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ข.ยกทัพไปสู้รบพม่า ค.ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ง.หาปลา |
********************************************************************************************
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น