ใบความรู้และใบงานเรื่องรามเกียรติ์
แผนผังของเรื่อง
ใบความรู้
เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระนามเดิมว่า ด้วง พระชนกคือหลวงพินิจอักษร
กับพระชนนีคือ ดาวเรือง ทรงขึ้นครองราชย์หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคต
เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ตลอดรัชกาลพระองค์ทรงทำสงครามทั้งกับพม่าและปราบหัวเมืองต่าง ๆ ทรงสร้างระเบียบการปกครอง ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ศิลปะศาสตร์ และอักษรศาสตร์ รวบรวมชำระกฎหมาย ตราสามดวงจนสมบูรณ์ และพระองค์ยังเป็นกวีโดยทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง ได้แก่ รามเกียรติ์ ดาหลัง อุณรุท และกลอนนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง
ที่มาของเรื่อง
นำเค้าเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อรวบรวมรามเกียรติ์ให้สมบูรณ์ และเพื่อแสดงพระเกียรติของพระรามหรือพระมหากษัตริย์ไทย
ลักษณะคำประพันธ์
แต่งด้วยกลอนบทละคร
กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและ
เครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ ๖ คำ ถึง ๙ คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ ๖ คำ เช่น เรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ ๒ คำ ถึง ๔-๕ คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ บางคราวก็ไม่ส่ง คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้น, บัดนี้, น้องเอ๋ยน้องรัก
แม้กลอนสดับ จะใช้คำพูดเพียงสองคำ ก็ถือถือว่าเต็มวรรค โดยลักษณะสัมผัสในวรรคและนอกวรรค
นิยมใช้แบบกลอนสุภาพ แต่งเป็นตอน ๆ พอจบตอนหนึ่ง ขึ้นตอนต่อไปใหม่ ไม่ต้องรับสัมผัสไปถึงตอนที่จบ เพราะอาจเปลี่ยนทำนองตามบทบาทตัวละคร ที่ขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น ใช้สำหรับพระเอกหรือผู้นำในเรื่อง บัดนั้น ใช้สำหรับเสนา กลอนนี้เป็นกลอนผสม คือ กลอน ๖ กลอน ๗ กลอน ๘ หรือ กลอน ๙ ผสมกันตามจังหวะ มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้
เรื่องย่อ
นนทกมีหน้าที่ล้างท้าเทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส เมื่อเทวดาพากันไปเฝ้าพระอิศวร
พวกเทวดาชอบข่มเหงนนทกอยู่เป็นประจำด้วยการลูบหัวบ้าง ตบหัวบ้าง จนกระทั่งผมร่วงหมดนนทกแค้นใจ เป็นอันมาก จึงไปเฝ้าพระอิศวร กราบทูลว่าตนได้รับใช้มานาน ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนเลย จึงทูลขอให้นิ้วเป็นเพชร มีฤทธิ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตายได้ พระอิศวรก็ประทานให้ตามขอ เมื่อเทวดามาลูบศีรษะเล่นเช่นเคย นนทกก็ชี้ให้ตายลงเป็น จำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็กริ้ว โปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวน นนทกนักรักจึงเกี้ยวนาง นางแปลงจึงชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก นนทกตกลงรำตามไปจนถึง ท่ารำที่ใช้นิ้งเพชรชี้เข่าตนเอง นนทกล้มลง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์ จึงต่อว่าพระนารายณ์มีอำนาจ มีถึง ๔ กร เหตุใดจึงต้องทำอุบายมาหลอกลวงตน พระนารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่ให้มีถึง ๒๐ มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง ๒ มือลงไปสู้ด้วย นนทกจึงไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเป็นพระราม
แนวคิด
อำนาจเมื่ออยู่กับผู้ที่ไม่รู้จักใช้ย่อมเป็นโทษ
คุณค่างานประพันธ์
๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การดำเนินเรื่องรวดเร็ว กระชับ ใช้คำชมความงามของนางแปลงได้อย่างเห็นภาพพจน์ เหมาะสำหรับการนำไปแสดงโดยมีการขับร้องและใช้ดนตรีประกอบ
๒.คุณค่าด้านสังคม
สังคมจะสงบสุขอยู่ได้ถ้าคนเรามีน้ำใจต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ข่มเหงน้ำใจกัน
แบบฝึกหัดที่ ๑
ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และ X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง ตามข้อเท็จจริง
....... ๑. รามเกียรติ์มีมาแต่ครั้งสุโขทัย ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เรื่องถ้ำพระราม
....... ๒. รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นมาใหม่ให้เป็นฉบับ
ที่สมบูรณ์
....... ๓. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า บุญมา ทองด้วง
....... ๔. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระชนกคือ หลวงพินิจอักษร กับ พระชนนีคือ
ดาวเรือง
....... ๕. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเคยเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี
....... ๖. สมเด็จพระอัครมเหสีมีพระนามเดิมว่า นาค
....... ๗. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๓๒๕
....... ๘. ตลอดรัชกาลที่ ๑ พระองค์ทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง
....... ๙. รัชกาลที่ ๑ สวรรคตเทื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ รวมพระชนมายุได้ ๗๓ พรรษา
....... ๑๐. นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง บทละครเรื่องอุณรุท และไตรภูมิโลกวินิจฉัย เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑
แบบฝึกหัดที่ ๒
ให้นักเรียนจับคู่คำศัพท์และความหมายโดยนำตัวอักษรทางขวามือมาใส่ในช่องว่างทางซ้ายมือให้ถูกต้องเหมาะสม
*******************************************************************************************************
|
เฉลย
ตอบลบขอเฉลยบงาน
ลบ